เกี่ยวกับสำนักงาน ป.ป.ท.
ผู้บริหาร : คณะกรรมการ ป.ป.ท.
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (คณะกรรมการ ป.ป.ท.) ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง โดยการสรรหาและคัดเลือกตามมตรา ๕/๑ แห่ง พรบ.มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตระหนักอยู่เสมอว่า การปฏิบัติงานในหน้าที่ แม้จะมีอำนาจอยู่ตามกฎหมายแต่อำนาจดังกล่าวเป็นอำนาจที่ประชาชนมอบให้ จึงต้องสำนึกในความรับผิดชอบที่จะต้องรับใช้ประชาชน มิใช่เพียงแต่ เพ่งเล็งจะเอาผลงาน เพื่อต้องการประโยชน์จากรัฐบาล โดยมิได้คำนึงถึงความเดือดร้อนเสียหายของพี่น้องประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่จะได้รับ จากการกระทำที่ลุแก่อำนาจของเรา เนื่องจากการใช้อำนาจ มิใช่ว่าจะทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ เพราะการมีอำนาจเหนือบุคคลอื่น ไม่ถือเป็นเหตุผลที่ทำให้ไม่ต้องรับผิดในการกระทำสิ่งที่ผิดกฎหมายเสียเอง อย่างไรก็ดี การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ท. จะบรรลุผลสำเร็จเป็นผลดีแก่ประเทศชาติ และประชาชนส่วนรวมได้นั้น จะต้องได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และความร่วมมือจากรัฐบาล องค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และที่สำคัญ คือ ประชาชนในทุกภาคส่วนของประเทศ เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ประพฤติมิชอบ อันเป็นภัยร้ายที่มาบั่นทอน ความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติ และความผาสุกของประชาชน มาตรการ 6 ประการ ในการต่อต้านการทุจริต 1. ปลูกความคิด จิตสำนึก ให้ลึกล้ำ ถึงกฎกรรม ความชั่วร้าย ไม่ลุ่มหลง 2. เฝ้าชุมทาง สร้างเครือข่าย ให้มั่นคง ด้วยประสงค์ ป้องกันได้ ให้พอเพียง 3. สร้างกลไก รับเรื่องไว้ ไม่หลีกเลี่ยง แม้ต้องเสี่ยง ตรวจสอบใด ให้เกิดผล 4. เข้าศึกษา ทุกรูปแบบ ที่แยบยล การฉ้อฉล กระบวนการ ประสานใคร 5. ยกระดับ มาตรฐาน งานโปร่งใส ให้ฉับไว และยิ่งใหญ่ ทุกสิ่งสรรพ์ 6. มุ่งคุ้มครอง การลงทุน หนุนอนันต์ เพื่อป้องกัน ต่างชาติไว้ ไม่ถอนคืน |